ไมโครโฟนมีทั้งหมดกี่ประเภท และมีวิธีการดูแลรักษาไมโครโฟน อย่างไรบ้าง


ไมโครโฟนหากเราได้ยินหรือเห็นก็จะสามารถเห็นได้ตามงาน Event ต่างๆงานเครื่องเสียงหรือแม้กระทั่งงานเวทีการแสดงสดของนักร้องรวมไปถึง งานทอล์คโชว์ซึ่งทำหน้าที่คอยเพิ่มเสียงให้ผู้ใช้งานได้ใช้งานอย่างสบายและมีความเป็นมืออาชีพได้ไหม แต่เราจะมาเริ่มทำความรู้จักกับไมโครโฟนให้มากขึ้นดังนี้

ไมโครโฟนคืออะไรมีความหมายว่าอย่างไรโดยอธิบายอย่างละเอียดดังนี้ คำว่าไมค์ ถือได้ว่าเป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษที่มีคำเต็มว่าไมโครโฟน ซึ่งหมายถึงเป็นเครื่องใช้ ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่สำหรับในการรับเสียงและเปลี่ยนคลื่นเสียงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้รับการกระทบแล้วแปลงเป็นสัญญาณคลื่นเสียงผ่านตัวนำสัญญาณหรือสายสัญญาณ ส่งผ่านไปยังเครื่องรับขยายเสียงเพื่อส่งเสียงไปยังลำโพงจึงทำให้เกิดเสียงดังและการกระจายตัวของเสียงได้มากขึ้นนั่นเอง

ซึ่งมีการจำแนกชนิดของไมโครโฟนอยู่ทั้งหมด 6 ประเภทได้แก่

1.ไมโครโฟนชนิดไดนามิค 2.ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ 3. ไมโครโฟนชนิดริบบอน 4.ไมโครโฟนชนิดคริสตัล

5.ไมโครโฟนชนิดเซรามิค 6.ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน เป็นต้น

วิธีการในดูแลรักษาการใช้งานของไมโครโฟนให้สามารถใช้งานได้นานมากขึ้น มีดังนี้

  • ผู้ใช้งานควรเลือกชนิดการใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ด้วยการพิจารณาจากทิศทางการรับเสียงของไมโครโฟนซึ่งจะเป็นวิธีที่ถูกต้องมากที่สุดในการเลือกนำมาใช้งาน
  • เวลาที่ผู้ใช้งานพูดหรือสนทนา สามารถกะระยะในการพูดให้เกิดความเหมาะสมกับระยะห่างของเสียงไปยังไมโครโฟน ซึ่งมีมาตรฐานที่กำหนดเป็นค่าเฉลี่ยควรห่างตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึงระยะห่างที่ 12 นิ้วขึ้นอยู่กับชนิดไมโครโฟนที่นำมาใช้งานด้วยนั่นเอง
  • ผู้ใช้งานควรจัดวางตำแหน่งและสภาพแวดล้อมที่ดีขณะใช้งานของไมโครโฟนซึ่งไม่ควรอยู่ใกล้กับพัดลมหรือ เครื่องปรับอากาศและไม่ควรอยู่ใกล้กลับตัวลำโพงที่หันหน้ากลับเข้ามาใกล้กันกับตัวไมโครโฟนเนื่องจากอาจมีเสียงที่ทำให้เกิดการรบกวนคลื่นเสียงของไมโครโฟนและจะทำให้มีการใช้งานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
  • เวลาผู้ใช้งานทดสอบไมโครโฟนไม่ควรเคาะหรือเปล่า นั่นก็เพราะว่าจะทำให้ตัวรับคลื่นเสียงของไมโครโฟนเกิดการเสียหาย หรือ Voice ไมโครโฟนขาดนั่นเอง
  • ผู้ใช้งานควรระมัดระวังไม่ให้ไมโครโฟนเกิดการตกหล่นหรือได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก นี่ก็เป็นอีกเหตุผลพี่จะทำให้ไมโครโฟนเกิดการพังได้เช่นกันเพราะเกิดการกระแทกอย่างนั้นจึงทำให้เกิดการเสียหายภายในไมโครโฟน
  • เมื่อผู้ใช้งานใช้ไมโครโฟน เสร็จแล้วควรมีการจัดเก็บในที่ที่ปลอดภัยเช่นกล่องของไมโครโฟนเพื่อหลีกเลี่ยงความชื้น และฝุ่นที่เป็นตัวปัญหาที่ทำให้ไมโครโฟนเสียหายได้

หวังว่าบทความนี้ จะสามารถนำไปใช้งานในการดูแลรักษาไมโครโฟนได้เป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญที่จะสามารถทำให้ไมโครโฟนมีการใช้งานที่ยาวนานนั่น ก็มาจากการบำรุงรักษาไมโครโฟนที่ดีนั่นเอง